แชร์

ข้อแตกต่างสี RGB และ CMYK ที่หลายคนมองข้าม

อัพเดทล่าสุด: 19 มิ.ย. 2024
151 ผู้เข้าชม
ข้อแตกต่างสี RGB และ CMYK ที่หลายคนมองข้าม

หนึ่งปัญหาพื้นฐาน ที่แก้ไม่ตกระหว่าง ลูกค้า กับ นักออกแบบสิ่งพิมพ์/โรงพิมพ์ ก็คือระบบสี โดยปกติเเล้วเราก็อยากได้งานพิมพ์ของเรานั้นโดดเด่น มีสีสวยสด และฉูดฉาดตามที่เราเห็นในหน้าจอ แต่เมื่อเราสั่งพิมพ์ออกมาสีกลับออกมาจืดชืดไม่ถูกใจ ด้วยเหตุนี้เราจำเป็นที่จะต้องเข้าใจระบบสี CYMK และ RGB เพื่อที่เราจะได้เลือกใช้ขอบเขตของสีให้เหมาะสมกับประเภทของงาน

ระบบสี CMYK และ RGB คืออะไร?


    CMYK (C= Cyan, M= Magenta, Y= Yellow, K= Black or Key) คือระบบสีของสารที่ใช้สำหรับงานพิมพ์ โดยเครื่องพิมพ์จะพิมพ์ชิ้นงานออกมาโดยการผสมสีจาก 4 สีหลัก โดยให้นึกภาพง่ายๆ ว่า เราเริ่มต้นจากกระดาษเปล่าสีขาวแทนความสว่าง แล้วเมื่อเราเติมสีลงไป เราก็จะมองเห็นสีขาวได้น้อยลง แล้วเมื่อเราต้องการผสมสีที่เราต้องการ เราก็จะต้องเติมสีด้วยอัตราส่วนที่กำหนดลงไปอีก ทำให้สีขาวจากจุดเริ่มต้นก็จะหายไปเรื่อยๆตามสัดส่วนที่เราเติมลงไปจนสีขาวถูกแทนที่ไปจนหมด จึงทำให้เราเห็นเป็นสีดำ หลักการนี้เราเรียกว่า "การผสมสีแบบลบ" คือการที่แสงขาว ถูกดูดกลืนด้วยอนุภาคเม็ดสีไปเรื่อยๆจน แสงขาวถูกดูดกกลืนจนหมด เช่น สีแดง (Maganta) คืออนุภาคที่ดูดกลืนสเปกตรัมของเเสงทุกสี ยกเว้นสีแดง ทำให้เราเห็นสีแดงสะท้อนเข้าตาเรา

    
    RGB (R= Red, B= Blue, G=Green) คือระบบสีของแสงที่เกิดจากจุดกำเนิดแสงที่ปล่อยความยาวคลื่นที่ต่างกัน เเล้วนำสีที่ได้นั้นมารวมกัน ครั้งนี้ให้นึกภาพง่ายๆ โดยใช้ความเข้าใจเรื่องของปริซึมของแสงเข้ามาช่วย เราเริ่มต้นจากหนา้จอสีดำ เมื่อเราต้องการหนา้จอสีฟ้า แหล่งกำเนิดแสงในหน้าจอก็จะปล่อยความยาวคลื่นสีฟ้าออกมา เมื่อเราผสมสี RGB ไปเรื่อยๆจนครบทุกความยาวคลื่นของเเสงแล้ว ผลที่ได้ออกมาจะเป็นหน้าจอสีขาว หลักการนี้เราเรียกว่า "การผสมสีแบบบวก" 

การนำระบบสี CYMK และ RGB ไปใช้

       1. การนำสี CMYK ไปใช้ อย่างที่ทราบว่า CMYK คือการผสมสีของสารสี สีที่ได้อาจจะไม่ได้สดใส แวววับเหมือนที่เราเห็นบนหน้าจอ ดังนั้นสี CMYK จึงถูกนำไปใช้กับงานออกแบบสิ่งพิมพ์ทุกชนิด ที่ไม่ใช่เกี่ยวกับงานที่มองหน้าจอ เช่น
1.1. Branding
     - นามบัตร
     - ป้ายบริษัท
     - สติกเกอร์ฉลากสินค้า
1.2. สื่อสิ่งพิมพ์

     - ป้าย Roll Up
     - ไวนิล
     - สติกเกอร์ติดกระจก
     - โบรชัวร์
1.3. สินค้าและผลิตภัณฑ์งานบรรจุภัณฑ์
     - เสื้อผ้า, หมวก, เครื่องแต่งกาย
ของชำร่วยเช่น พิมพ์สีลงบนแก้ว,ปากกา
         

        2. การนำสี RGB ไปใช้ อย่างที่ได้กล่าวไปว่าสี RGB เป็นสีที่เกี่ยวกับแสดงผลของหน้าจอ ดังนั้นงานที่เกียวข้องก็จะเป็นงานที่ต้องมองบนมือถือ, ทีวี เช่น
2.1. BrandingWebsite
     - Online Logo
     - Webpage
2.2. Visual Contentdigital graphic
     - infographic
     - motion video 
     - รูปภาพสำหรับ โฆษณาออนไลน์


ไฟล์ที่เหมาะสมสำหรับสี CMYK และ RGB

      เมื่อเราต้องการบันทึกงานไปให้ร้านพิมพ์ หรือร้านผลิตสินค้าต่างๆ อันดับแรกคือเราต้องตรวจสอบค่าสีของเราว่า เราได้กำหนดค่าสีในไฟล์ของเราเป็น CMYK color mode หรือยัง เมื่อเรากำหนดค่าสีเเล้ว ไฟล์ที่แนะนำก็คือ

PDF = รูปแบบไฟล์ยอดนิยมที่สามารถเปิดได้ง่าย และสามารถนำไปใช้ร่วมกับโปรแกรมอื่นได้มากมาย
AI หรือ EPS = ไฟล์ที่นักออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์ชอบใช้ เนื่องจากสามารถทำไฟล์งานเป็นลายเส้น(vector) ซึ่งง่ายต่อการนำไปใช้ในการผลิต 
     

       ในทางกลับกันเมื่อเราต้องการทำโฆษณาออนไลน์ต่างๆ เราต้องใช้สี RGB ดังนั้นไฟล์ยอดนิยมที่ใช้กันก็คือ


JPEG = รูปแบไฟล์ที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในทุกวงการ
PSD = ไฟล์ที่ใช้มากในการรีทัชรูปภาพเพื่อสร้าง visual contents

ข้อควรระวัง!!

  • อย่าลืมเปลี่ยนระบบสี RGB เป็น CMYK ทุกครั้งเมื่อจะส่งงานร้านพิมพ์ 
  • สีบางสีในระบบ RGB ไม่สามารถนำมาพิมพ์ได้ เช่น สีนำเงินสดๆ หรือสีชมพูสดๆ ดังนั้น"การเลือกเฉดสีที่เหมาะสมแทนก็สามารถให้งานพิมพ์ออมาสวยได้"
  • สีงานพิมพ์กับสีบนหน้าจอ อาจะไม่เหมือนกัน ถ้าต้องการสีที่ต้องการจริงๆ ควรปรู๊ฟสีหน้าเครื่องก่อน
  • เครื่องพิมพ์แต่ละเครื่อง ก็อาจจะพิมพ์สีเดียวกันออกมาได้ไม่เหมือนกัน เนื่องจากหมึกพิมพ์คนละชนิด/ผู้ผลิต

     เมื่อเราเข้าใจระบบสีเบื้องต้นอย่างนี้เเล้ว เราจะได้เลือกสีให้ถูกกับงานกันนะครับ

     
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ
Powered By MakeWebEasy Logo MakeWebEasy